วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 4 : โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (Java)


วันนี้เราจะมารู้จักภาษาจาวากัน โดยปกติจะเห็นในเว็บหรือว่าแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์ วันนี้เพราะจะมาเจาะลึกกัน !!!!
ไปกันเลย 
!!!!!


ภาษาจาวา (อังกฤษJava programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (อังกฤษObject Oriented Programming) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน (the Green Project) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส (C++) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี (Objective-C) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก (Oak) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน
และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้

จุดมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมายหลัก 4 ประการ ในการพัฒนาจาวา คือ
  1. ใช้ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ
  2. ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม (สถาปัตยกรรม และ ระบบปฏิบัติการ)
  3. เหมาะกับการใช้ในระบบเครือข่าย พร้อมมีไลบรารีสนับสนุน
  4. เรียกใช้งานจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย

จาวาแพลตฟอร์ม และ ภาษาจาวา

เนื่องจากชื่อที่เหมือนกัน และการเรียกขานที่มักจะพูดถึงพร้อมกันบ่อยๆ ทำให้คนทั่วไป มักสับสนว่า ภาษาจาวา และ จาวาแพลตฟอร์ม เป็นสิ่งเดียวกัน
ในความเป็นจริงนั้น ทั้งสองสิ่ง แม้จะทำงานเสริมกัน แต่ก็เป็นสิ่งที่แยกออกจากกัน
โดย ภาษาจาวานั้น คือภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้น ส่วน จาวาแพลตฟอร์มนั้น คือสภาพแวดล้อมสำหรับการใช้งานโปรแกรมจาวา โดยมีองค์ประกอบหลักคือ จาวาเวอร์ชวลแมชีน (Java virtual machine) และ ไลบรารีมาตรฐานจาวา (Java standard library)
โปรแกรมที่ทำงานบนจาวาแพลตฟอร์มนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสร้างด้วยภาษาจาวา เช่น อาจจะใช้ ภาษาไพทอน (Python) หรือ ภาษาอื่นๆก็ได้
ส่วนภาษาจาวานั้น ก็สามารถนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมสำหรับแพลตฟอร์มอื่นได้เช่นเดียวกัน เช่น คอมไพเลอร์ gcj สามารถคอมไพล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาจาวา ให้ทำงานได้ โดยไม่ต้องใช้ จาวาเวอร์ชวลแมชีน

ประวัติ

รุ่นต่าง ๆ ของภาษาจาวา[แก้]

  • 1.0 (ค.ศ. 1996) — ออกครั้งแรกสุด
  • 1.1 (ค.ศ. 1997) — ปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยเพิ่ม inner class
  • 1.2 (4 ธันวาคมค.ศ. 1998) — รหัส Playground ด้านจาวาแพลตฟอร์มได้รับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ใน API และ JVM (API สำคัญที่เพิ่มมาคือ Java Collections Framework และ Swing; ส่วนใน JVM เพิ่ม JIT compiler) แต่ตัวภาษาจาวานั้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย (เพิ่มคีย์เวิร์ดstrictfp) และทั้งหมดถูกเรียกชื่อใหม่ว่า "จาวา 2" แต่ระบบเลขรุ่นยังไม่เปลี่ยนแปลง
  • 1.3 (8 พฤษภาคมค.ศ. 2000) — รหัส Kestrel แก้ไขเล็กน้อย
  • 1.4 (13 กุมภาพันธ์ค.ศ. 2002) — รหัส Merlin เป็นรุ่นที่ถูกใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน (ขณะที่เขียน ค.ศ. 2005)
  • 5.0 (29 กันยายนค.ศ. 2004) — รหัส Tiger (เดิมทีนับเป็น 1.5) เพิ่มคุณสมบัติใหม่ในภาษาจาวา เช่น Annotations ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่านำมาจากภาษาซีชาร์ป ของบริษัทไมโครซอฟท์EnumerationsVarargs, Enhanced for loop, Autoboxing, และที่สำคัญคือ Generics
  • 6.0 (11 ธันวาคมค.ศ. 2006)  — รหัส Mustang เป็นรุ่นในการพัฒนาของ Java SDK 6.0 ที่ออกมาให้ทดลองใช้ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004
  • 7.0 (กำลังพัฒนา กำหนดออก ค.ศ. 2008) — รหัส Dolphin กำลังพัฒนา 

ตัวอย่าง

// ประกาศ class
public class MyClass {
    // ประกาศ Method ชื่อ main เพราะ java จะเรียกหา Method main เป็น Method แรก
    public static void main(String[] args) {
        System.out.println("Hello World!"); // แสดงข้อความว่า Hello World!
    }
}

ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง

รายชื่อของซอฟต์แวร์เสรีที่เกี่ยวข้องกับจาวา

ขอขอบคุณที่ติดตามชมนะคะขอบให้ทุกท่านมีความสุขมากๆกับสิ่งที่ฉันได้นำเสนอนะคะ ♥


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น